Your search results

บันไดบ้านควรมีกี่ขั้น? เลขคู่ เลขคี่ แบบไหนดีมีเหตุผล

โพสต์โดย admin เมื่อ 23 สิงหาคม 2024
0

บันไดบ้านควรมีกี่ขั้น? เลขคู่ เลขคี่

“บันไดควรมีกี่ขั้นดี เลขคู่หรือเลขคี่ดีกว่ากัน?”คำถามนี้มักเป็นคำถามยอดฮิตที่ลูกค้าหลายท่านสงสัย เมื่อถึงเวลาออกแบบบ้าน เพราะนอกจากความสวยงามและความแข็งแรงแล้ว หลายคนยังให้ความสำคัญกับความเชื่อเรื่องฮวงจุ้ยที่เชื่อมโยงกับจำนวนขั้นบันไดด้วย ความเชื่อเรื่องเลขคี่และเลขคู่ในเรื่องของบันไดนั้นมีมาช้านาน โดยเฉพาะในหลักฮวงจุ้ย 

จำนวนขั้นบันได  เลขคู่หรือเลขคี่ดีกว่ากัน?

ความเชื่อเรื่องเลขคี่และเลขคู่ในเรื่องของบันไดนั้นมีมาช้านาน โดยเฉพาะในหลักฮวงจุ้ย ซึ่งเชื่อว่า

บันไดบ้านเลขคี่ 

ตามความเชื่อจะมองว่าเป็นเลขที่สื่อถึงความเป็นไปได้ การเติบโต ความก้าวหน้าพลังงานที่เป็นบวก สร้างสรรค์ และนำมาซึ่งความเจริญ ดังนั้นการมีจำนวนขั้นบันไดเป็นเลขคี่จึงเชื่อกันว่าจะนำพาโชคลาภและความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้าน

บันไดบ้านเลขคู่ 

ตามความเชื่อจะมองว่าเลขคู่เป็นเลขที่ไม่ค่อยเป็นมงคล แต่ในบางแง่มุมก็เชื่อว่าเลขคู่สื่อถึงความสมดุลและความสงบ และบางคนอธิบายว่าเกี่ยวกับการก้าวเดินเพราะการเดิน ก้าวเท้าไหนก่อนต้องจบด้วยอีกเท้าเสมอ เพื่อส่งเสริมความสมดุลของการทรงตัวขณะเดิน ถ้าเราก้าวเท้าซ้ายก่อน เท้าขวาต้องเป็นเท้าที่ลงชานพัก ส่วนบันไดเลขคู่เป็นอุปสรรคในการเดินขึ้นและลง การที่ใช้ก้าวไหนก่อนแล้วจบลงด้วยเท้าเดิม จะมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง ส่งผลกระทบต่อร่างกาย   

ตัวอย่างจำนวนขั้นบันไดที่นิยมใช้กัน

บันได 1 ขั้น สำหรับบ้านที่ความสูงต่ำไม่เท่ากัน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างห้องรับแขกและห้องครัว ซึ่งตามหลักฮวงจุ้ยหมายถึง การเริ่มต้นใหม่ การก้าวข้ามอุปสรรค และความเป็นหนึ่งเดียว

บันได 2 ขั้น เหมาะสำหรับบ้านที่มีความสูงต่างระดับที่มีความสูงมากกว่าบันได 1 ขึ้น ตามหลักฮวงจุ้ย หมายถึง ความสมดุล ความคู่ และการเติบโต

บันได 5 ขั้น เป็นจำนวนขั้นบันไดที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไปนิยมใช้กับบ้านที่มีการยกสูง ตามหลักฮวงจุ้ยเชื่อว่าหมายถึง ธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ลม และฟ้า สื่อถึงความสมดุลของธรรมชาติ

บันได 10 ขั้น เป็นจำนวนขั้นบันไดที่มีความสูง เป็นบ้านที่มี 2 ชั้น เลข 10 เป็นเลขที่สมบูรณ์แบบในหลายวัฒนธรรม สื่อถึงความสมบูรณ์และความสมบูรณ์แบบ

การตีความหมายเหล่านี้เป็นเพียงความเชื่อส่วนบุคคล มีการตีความหมายที่แตกต่างกันไปตามวั​ฒนธรรม แม้ว่าความเชื่อเรื่องเลขคู่เลขคี่จะเป็นที่นิยม แต่ในทางการใช้งานจริงของบันไดนั้น มีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญกว่า เช่น

ความสูงของชั้น

จำนวนขั้นบันไดจะขึ้นอยู่กับความสูงของแต่ละชั้นของบ้าน หากชั้นสูงมาก จำนวนขั้นก็จะมากตามไปด้วย และแนะนำว่าบันไดแต่ละช่วงต้องสูงไม่เกิน 3 เมตร ลองนึกภาพถ้าเราต้องเดินขึ้นบันไดสูงๆ รวดเดียวยาวๆ คงเหนื่อยมาก ไม่อยากจะขึ้นไปข้างบนบ้านเลยทีเดียว ดังนั้นขนาดบันไดบ้านมาตรฐาน หนึ่งช่วงควรจะสูงไม่เกิน 3 เมตร จึงจะอยู่ในระยะที่พอดี เดินขึ้นแล้วไม่เหนื่อยมากจนเกินไป

ความสูงของขั้นบันไดดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ 2

ความสูงของแต่ละขั้นควรมีความเหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้ เพื่อความสะดวกสบายในการขึ้นลง ควรคำนึงถึงความสะดวกและปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก 

ความกว้างของบันไดดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ

ความกว้างของบันไดควรเพียงพอต่อการเดินสัญจร ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัดมากจนเกินไป และควรคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับรองรับการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น ที่นอน โซฟา อีกทั้งยังเป็นขนาดที่พอดีกับวัสดุอุปกรณ์สำเร็จรูปต่างๆ เช่น พื้นไม้บันไดสำเร็จรูป หรือจมูกกันลื่น ทำให้ไม่เหลือเศษ หรือมีรอยต่อให้หมดสวยอีกด้วย

วัสดุที่ใช้สร้างบันได

การเลือกใช้วัสดุแต่ละชนิดที่ใช้ออกแบบบันไดควรให้มีความทันสมัยในการใช้งาน เหมาะกับบ้านแต่ละแบบแต่ละสไตล์ และที่สำคัญควรมีความแข็งแรง ทนทาน มีการออกแบบที่ปลอดภัย  

กฎหมายการสร้างบันได

การออกแบบบันไดบ้าน ยังมีการกำหนดมาตฐานอีกด้วย ซึ่งถ้าไม่ใช่คนในแวดวงสถาปัตยกรรม คงมีจำนวนไม่มากที่จะทราบว่า แม้แต่การออกแบบบันไดบ้าน ก็มีข้อกฎหมายกำหนดเช่นกัน

กฎหมายเรื่องการสร้างบันได สำหรับบ้านพักอาศัย มีกำหนดไว้ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 23 ดังนี้

‘‘บันไดของอาคารอยู่อาศัย ถ้ามี ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งบันได ที่มีความสูงสุทธิไม้น้อยกว่า 80 เซนติเมตร ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้ว เหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร และต้องมีพื้นหน้าบันได มีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชายพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพักบันได ต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร’’

การที่จะออกแบบหรือสร้างบันไดสักตัว โครงสร้างของบันไดเป็นสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง การเลือกใช้โครงสร้างบันไดที่มีความแข็งแรง และความสวยงามตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะใช้วัสดุปิดผิวใดๆ ก็ช่วยส่งเสริมให้บันไดมีความสวยงามอย่างไม่ยาก

บันได เป็นหนึ่งในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญ เพราะนอกจากบันไดจะใช้เป็นทางสัญจรทางตั้งที่เชื่อมต่อระหว่างชั้นต่างๆ ของบ้านเข้าด้วยกันแล้ว บันไดยังเป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่สามารถแสดงออกด้านความงาม และความประทับใจให้แก่ผู้อยู่อาศัย และผู้ที่มาเยี่ยมเยือน การออกแบบ หรือสร้างบันไดสักตัว โครงสร้างของบันไดเป็นสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง จากนั้นจึงค่อยเลือกรูปทรงของบันไดให้เข้ากับพื้นที่ที่มีอยู่ เช่น บันไดทางตรง บันไดหักฉาก บันไดหักกลับ หรือบันไดเวียน เป็นต้น จากนั้นจึงเลือกวัสดุปิดผิวต่างๆ ให้บันไดมีความสวยงาม

สรุปเรื่องบันไดบ้าน

จากประสบการณ์ในการสร้างบ้านของเรา พบว่าจำนวนขั้นบันไดที่สำคัญที่สุดคือความเหมาะสมกับการใช้งานและความสวยงามของบ้านมาก กว่าการยึดติดกับความเชื่อเรื่องเลขคี่หรือเลขคู่เพียงอย่างเดียว ควรคำนึงถึงการใช้งาน และวัสดุที่ใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะ บ้านที่มีคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย ความแข็งแรงของบันใดเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดในบ้าน หากบันไดที่ใช้มีขนาดที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือขาดความสมดุล ระหว่างระยะความกว้าง ความสูง และระยะขั้นบันได จะทำให้ผู้ใช้งานมีความลำบาก และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 

เราขอแนะนำให้ลูกค้าปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกรเพื่อออกแบบบันไดที่เหมาะสมกับบ้านของท่าน หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เสมอ บริษัทของเรา รับสร้างบ้านโคราช แอ็ดไมรพร้อมให้บริการออกแบบและก่อสร้างบ้านตามความต้องการของคุณด้วยทีมงานที่มีประสบการ์และ ความเชี่ยวชาญ 

Compare Listings