3 ขั้นตอน ต้องรู้ก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ
.
3 ขั้นตอน ต้องรู้ก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ
งานกระเบื้องถือเป็นงานยากสำหรับเจ้าของบ้าน พี่ช่าง เดี๋ยวมาลองอ่านกันว่าถ้าทำไม่ดีจะเป็นอย่างไร กระเบื้องร่อน โพรง กระเบื้องบิ่นแตก น้ำรั่วลงฝ้า ท่อน้ำรั่วซึม หนักหน่อยก็ระเบิดหลุดออก ทุกคนคงไม่อยากเจอปัญหาเหล่านี้เพราะจะทำให้ทุกคนปวดหัว เสียเงิน เสียเวลา แอ็ดไมร จึงเขียนบทความนี้เพื่อเป็นแนวทางการทำงาน จ้างงาน โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ
1. เตรียมงาน ปูกระเบื้องห้องน้ำ
1.1 เช็คระยะแบบและหน้างานให้ตรงกันลดปัญหากระเบื้องขาดหรือเหลือเยอะเกินไป
1.2 เลือกกระเบื้อง สถาปนิกจะแนะนำกระเบื้องให้สมกับการใช้งาน สวยงาม ดูแลง่าย เปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ความคุ้มค่า
1.3 เคลียร์แบบ สถาปนิกทำแบบโดยใช้ระยะที่ได้จากข้อ 1.1 และกระเบื้องที่เลือก ข้อ 1.2 มาทำรูปแบบ จุดสตาร์ทจุดจบกระเบื้องให้ออกมาสวยถูกใจ
1.4 จัดเตรียมวัสดุ กระเบื้อง คิ้ว จมูก ปูนกาว ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้พร้อมทำงาน
เมื่อขั้นตอนเตรียมงานเรียบร้อย เราไปเริ่มลุยหน้างานกันเลย
2.เริ่มลุยหน้างาน ปูกระเบื้องห้องน้ำ
2.1 ประชุมแบบ เพื่อให้โฟร์แมน ช่างกระเบื้อง เข้าใจ รูปแบบงาน ผลงานที่คาดหวัง ปัญหาที่อาจะเกิดขึ้น ให้ได้เยอะที่สุดเพื่องานที่เนี๊ยบที่สุด และที่สำคัญต้องวางแผนงานว่าควรเริ่มทำงานส่วนไหนก่อนหลัง โดยคำนึงถึงระยะเวลา ความยากง่าย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จึงแบ่งงานโดยแบ่งงานดังนี้ งานกระเบื้องห้องน้ำ งานเคาน์เตอร์ครัว งานกระเบื้องพื้น
2.2 หาไลน์เช็คระยะ ขนาดของห้อง และแผงก่อ ตามแบบหากกรณีไม่ตรงแบบก็ให้จะแจ้งสถาปนิกเพื่อหาแนวทางแก้ไข
2.3 จับเซี๊ยม พร้อมฉาบปูน ผนังต้องได้แนวไม่ล้มดิ่งเพื่อให้กระเบื้องออกมาสวย ไม่เปลืองปูนกาว
2.4 ระบบน้ำดี ช่างจะหาตำแหน่งจุดต่อน้ำดี และเดินท่อทากาวเรียบร้อย เมื่อครบ 8 ชม.ช่างจะใช้เครื่องทดสอบแรงดันแบบมือโย้ก Hand Pump Test โดยจะทำการเพิ่มแรงดันไปที่ 8 บาร์ ทิ้งไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชม. ถ้าแรงดันไม่ลดก็พร้อมไปต่อ
2.5 ตีไลน์กระเบื้อง จะนำแบบที่สถาปนิกได้เตรียมไว้ในช่วงงานเตรียมการมาตีไลน์จุดเริ่ม จุดจบกระเบื้อง หากมีกระเบื้องตกแต่ง มีแพทเทิร์นปู ก็จะต้องเช็ครายละเอียดให้ครบถ้วน เมื่อตรวจสอบผ่านแล้วก็ถึงเวลาของการปูกระเบื้องผนังห้องน้ำ
2.6 ปูกระเบื้องผนังห้องน้ำ ขั้นตอนนี้ยากที่สุดคือการเริ่มปูกระเบื้องแถวแรกต้องดูแนวให้ดี ไม่งั้นเอียง ล้มดิ่ง เมื่อปูแผนแรกได้แล้วก็เริ่มปูต่อๆไปใช้เวลาพอสมควร นอกจากฝีมือ ความระเอียดรอบครอบแล้ว เรื่องของเครื่องมือก็ต้องมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นแท่นตัด ใบตัด ใบเจียร์ โฮลซอล ต้องเป็นรุ่นที่เหมาะสม เพื่อให้กระเบื้องไม่บิ่น ไม่แตก ในการปูเราจะเว้นกระเบื้องชายล่างไว้หนึ่งแถว
2.7 เทปรับระดับพื้น ในขั้นตอนนี้ก็เหมือนขั้นตอนงานผนังคือ หาระดับ จับเซี๊ยม เทปรับพื้น โดยจะเทเป็นสโลปไปหาฟลอร์เดรนน้ำทิ้ง
2.8 ทำกันซึมพื้น เมื่อคอนกรีตเทพื้นแข็งตัวอย่างน้อย 24 ชม.ช่างจะเริ่มทากันซึมรอบแรกพร้อมติดตาข่ายไฟเบอร์บริเวณมุมผนังกับพื้นเมื่อปูนกันซึมรอบแรกแห้งทิ้งไว้ 1-2 ชัวโมง ช่างก็จะทารอบสอง และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วัน
2.9 ขังน้ำทดสอบ เมื่อกันซึมแห้งตัวดีแล้วจะปล่อยน้ำขังไว้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อทดสอบหาจัดรั่ว
2.10 ปูกระเบื้องพื้น กระปูพื้นกระเบื้องห้องน้ำต้องระวังเรื่องน้ำขังโดยแนะนำ สโลป 1 : 75 หมดปัญหาน้ำขังพื้น และอีกจุดที่มักพบปัญหาคือรอบฟลอร์เดรนระบายน้ำต้องมีวิธีจัดการ เทคนิคทำงานทีดี
2.11 ปูเก็บกระเบื้องแถวแรกที่เว้นไว้ เป็นอันจบขั้นตอนทำงาน แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านี้หากยาวไปพักดื่มน้ำก่อนไปต่อกัน…
3.ตรวจสอบ ปูกระเบื้องห้องน้ำ
3.1 ตรวจสอบ ความสวยงาม เรียบ ไม่สดุด ไม่บิ่นแตก ร่องได้แนว ยาแนว เข้ามุม เศษกระเบื้อง
3.2 ตรวจสอบ กระเบื้องเป็นโพรงหรือกระเบื้องกลวง ด้วยการใช้ไม้เคาะ
3.3 ตรวจสอบ ตรวจสอบสโลปกระเบื้องพื้นให้น้ำไม่ขัง ตรวจสอบรั่วซึม