สัมมนาเชิงปฏิบัติการ On-site Workshop
หัวข้อ ลดการแตกร้าวของผนัง งานก่ออิฐ ฉาบปูน
เป้าหมายที่คาดหวัง
- ช่างและทีมงาน เข้าใจมาตรฐานเดียวกัน
- ลดปัญหาผนังแตกร้าว ในก่ออิฐ ฉาบปูน
- ช่าง ทีมงาน ลูกค้า มีความสุข ได้บ้านที่มีมาตรฐาน
- ช่าง ทีมงาน มีงานตลอดทั้งปี
.
ช่วงที่ 1
>>ก่ออิฐมวลเบา
> ขั้นตอนการทำงาน พบปัญหาคือหลายฝ่ายเข้าใจไม่ตรงกัน จึงพูดคุยแรกเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนี้
1.1 งานทำความสะอาดพื้น เพื่อให้ทำงานง่าย ไลน์ชัดเจน
1.2 การตีไลน์ที่พื้น Base Line 0.50 ม. ตีไลน์ที่เสา Offest 1.00 ม. และตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้ง
1.3 งานก่ออิฐแถวแรก ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้ปูนทรายแข็งตัว
1.4 หลังจากนั้นจึงเริ่มก่ออิฐมวลเบาตามาตรฐาน โดยหลังอิฐต้องเสมอกัน ปูนก่อเต็ม
1.5 เสาเอ็น 10×7.5 ซม. ทับหลัง 15×7.5 ซม. รูปแบบการใส่ ประตู หน้าต่าง แผงทึบ ให้ถูกต้องตามมาตรฐาน
1.6 หนวดกุ้ง RB6 mm. ยาว 25 ซม. ฝังเข้าเสา 5 ซม.โดยจะใส่ทุกช่วง 40 ซม.
1.7 เหล็กที่เพิ่มมาใหม่ใส่เหล็ก RB6 mm. ยาว 40 ซม. งอฉาก ตามมุมช่องเปิดต่างๆให้แข็งแรงเพิ่มมากขึ้น
1.8 การใส่ตาข่ายกรงไก่ 1/2 นิ้ว ตามุมช่องเปิดและจุดต่ออิฐกับโครงสร้าง ต่างๆให้ถูกต้อง
.
>>ฉาบผนัง
> งานฉาบผนัง มักพบปัญหาได้หลายอย่างซึ่งก็ได้แก้ไขมาพอสมควรแล้ว ในครั้งนี้จึงหยิบประเด็นเก่ามาทบทวนและแรกเปลี่ยนประเด็นใหม่ๆที่พบ ดังนี้
2.1 การทำแนวฉาบ ตรวจสอบปุ่ม เซี๊ยม ให้ได้ขนาดได้แนวที่ถูกต้อง เซี๊ยม PVC ตัดเข้ามุม 45 องศา ลดการร้าวตามมุม
2.2 เตรียมน้ำให้เพียงพอในการฉาบปูน
2.3 การฉาบก่อนฉาบต้องบ่มน้ำทิ้งไว้ 1 คืน และก่อนฉาบต้องรดน้ำให้หมาด ป้องกันปูนฉาบสูญเสียน้ำไว ทำให้ผนังร้าว
2.4 การฉาบแผงไหนที่ความหนา เกิน 1.5 ซม.ต้องฉาบทิ้งไว้อย่างน้อย 1 วัน ให้ปูนแข็งตัวก่อน จุดที่เป็นโครงสร้าง คสล. ให้สลัดดอกหรือใช้น้ำยาประสานคอนกรีตเพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะของปูนฉาบห้องกันกันหลุดล่อน
2.5 การผสมปูนฉาบ ต้องใช้เครื่องผสมเพื่อให้ปูนฉาบผสมเข้ากันสม่ำเสมอ
2.6 เมื่อทุกอย่างเตรียมเป็นอย่างดีก็เริ่มฉาบกันเลย
.
ช่วงที่ 2
ตรวจสอบงาน QC
ในขั้นตอนตรวจสอบหน้างานปกติแล้วจะเป็นหน้าที่ของ วิศวกร โฟร์แมน หัวหน้าช่าง แต่ในครั้งนี้แอ็ดไมร เราได้ปรับการทำงานปลูกฝังให้ทุกคนได้รู้จักการตรวจสอบงานกันทุกคนเพื่ออย่างน้อยที่สุด ให้เขารู้ว่าตรวจไปเพื่ออะไร จะได้ไม่ต่อต้านการตรวจ แต่จากหน้างานที่พบ ทุกคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ช่วยกันตรวจ ช่วยกันชี้ ถึงจุดบกพร่องต่างๆ ในรายระเอียดการตรวจไม่ขอกล่าวถึง สามารถดูได้ คลิปคลิปวีดีโอหรือไลฟ์สดหน้าเพจ https://shorturl.at/kGXZ1
.
ช่วงที่ 3
ช่วงนี้สำคัญมาก สำหรับการ On-site Workshop
คือการนำภาพปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาร่วมแก้ไข โดยการเริ่มตั้งชื่อปัญหา วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขในระยะสั้น สำคัญที่สุดคือการแก้ไขระยะยาว ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายฝ่ายจึงต้องดึงทุกคนที่เกี่ยวข้องมาในวันนี้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง ในทุกด้าน เครื่องมือ แรงงาน ขั้นตอนการทำงาน ข้อมูล วัสดุ การจัดการหน้างาน ก็ได้นำปัญหาไม่น้อย กว่า 30 ปัญหามาพูดคุยกันเต็มที่
.