ระบบไฟฟ้าในบ้านและอาคาร
ระบบไฟในบ้าน
อุ่นใจทั้งบ้านและผู้อาศัยด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล…
หากพูดถึงเรื่องระบบไฟในบ้านเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่จะกล่าวเป็นลำดับแรก ก็คือเรื่องของความปลอดภัย ซึ่งหลายๆท่านเป็นกังวลบทความนี้เราจึงเขียนขึ้น เพื่ออธิบายความสำคัญ และลำดับขั้นตอน ให้เห็นที่มาในการออกแบบหากท่านเข้าใจตรงนี้ ก็จะเข้าใจที่มาของความปลอดภัย ซึ่งในการสร้างบ้านโดยแอ็ดไมร์จะช่วยดูแลความเรียบร้อย และตรวจสอบ อยากเข้มงวดเพื่อให้เป็นเป็นไปตามมาตรฐานงานไฟฟ้าตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้ลูกค้า ข้อกังวลใจในเรื่องระบบไฟฟ้า
1. การคำนวณโหลดไฟฟ้า จะอ้างอิงจาก จำนวนอุปกรณ์และการใช้กำลังไฟฟ้า เพื่อมาออกแบบ ขนาดสายไฟที่เหมาะสมในการใช้งาน สำหรับงานบ้านโดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 55% ของภาระโหลดไฟฟ้าจริง เรื่องนี้จึงสำคัญมาก เพราะจะสะท้อนเรื่องการใช้งานของอาคารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สำหรับอาคารสำนักงาน หรืออาคารประเภทอื่นก็ต้องคำนวณโหลดไฟฟ้า ตรงตามอาคารประเภทนั้นๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน
2. มิเตอร์ไฟฟ้าความสัมพันธ์ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจริง ปัจจุบันมีทั้งแบบ อนาล็อกและดิจิตอล ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับปริมาณการใช้ไฟจริงและขนาดสาย ประธาน ที่เขาบ้าน สำหรับบ้านโดยส่วนใหญ่ 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ จะใช้ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า15(45)Aรองรับขนาดสูงสุดของเมนเบรกเกอร์ 50A และขนาดสายไฟเมนเล็กสุดได้ 25 ตร.มม. สำหรับบ้านที่ ขนาด ใหญ่กว่านี้หรือมีการใช้ไฟล์ที่แตกต่างจากนี้ จำเป็นต้องเลือกมิเตอร์ให้เหมาะสม ซึ่งในบทความนี้ไม่ได้สอนคำนวณไว้แต่ทางวิศวกร ผู้สร้างบ้านจะต้องเป็นผู้ ออกแบบ ที่ถูกต้อง กับการใช้งาน
3. ตู้คอนซูเมอร์ยูนิตหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ตู้ไฟหรือกล่องไฟ เป็นจุดรวมการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันอันตรายต่างๆ จากไฟฟ้าอย่างเป็นระเบียบและง่ายต่อการจัดการโดยทั่วไปจะประกอบด้วยเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด(RCD) และเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย
3.1 เซอร์กิตเบรกเกอร์เมน คือสวิตช์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าจากความเสียหายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกินโดยทั่วไปเกิดจากโหลดเกินหรือไฟฟ้าลัดวงจรการทำงานของมันคือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า
3.2 เบรกเกอร์กันไฟดูด เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดไฟรั่ว (Residual Current Devices – RCD) ทำหน้าที่ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในบ้านเพื่อป้องกันไฟรั่วไฟดูดโดยจะตัดวงจรอัตโนมัติหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามค่าที่กำหนด โดยทั่วไปแนะนำที่ 30มิลลิแอมป์ เนื่องจากเป็นระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จะต่อกับอุปกรณ์ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ใช้งาน เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น ปลั๊กไฟ หรืออื่นๆ
3.3 เเบรกเกอร์ลูกย่อย เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กสำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยหรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100A ใช่ แบ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าออกเป็น ส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ และเป็นการแจกจ่าย ปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม
4. สายไฟและการเดินสายไฟ …..รอเขียนต่อ