ดูแลบ้านฉบับ คุณแม่บ้าน
การบำรุงรักษาบ้านขั้นต้น พร้อมสาเหตุและแนวทางการแก้ไข
1. น้ำรั่วซึมรอยต่อของอุปกรณ์
สาเหตุ และแนวทางการแก้ไข
1. รอยต่ออุปกรณ์ไม่แน่น > แก้ไข ใช้ประแจขันให้เข้าให้แน่นตึงมือ
2. การเสื่อมสภาพของยางโอริง > เปลี่ยนยางโอริงระหว่างจุดนั้นๆ
2. ก๊อกน้ำอุดตัน ทำให้น้ำไหลช้า
1. หมุนตัวกรองที่ปลายก๊อกออกด้วยประแจ ทำความสะอาดและประกอบคืน
2. ทดสอบเปิดน้ำดูว่าน้ำไหลแรงเหมือนเเต่ก่อนหรือไม่ ถ้ายังไหลเบาเหมือนเดิม แสดงว่าปัญหาอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ต้องตรวจเช็คต่อไป
3.น้ำรั่วซึม ตามขอบวงกบหน้าต่าง
1. การติดตั้งหน้าต่างอลูมิเนียมที่บกพร่อง การแก้ไข อุดรอยน้ำรั่วซึมด้วยซิลิโคน หรือ ยาแนว
2. วัสดุที่ใช้ในการติดตั้ง และอุดรอยต่อเสื่อมสภาพ การแก้ไข อุดรอยน้ำรั่วซึมด้วยซิลิโคน หรือ ยาแนว
3. ช่องระบายน้ำของขอบอลูมิเนียมหน้าต่างเกิดอุดตัน การแก้ไข เจาะรูระบายน้ำ
4. ห้องน้ำมีกลิ่นเหม็น
อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ต้องหาวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง โดยการตรวจเช็คจากง่ายไปยากตามลำดับ และ แนวทางการแก้ไข
– เกิดจากการใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นกรด จึงทำให้เชื้อจุลลินทรีย์ตาย และทำให้เกิดกลิ่นเหม็น (เติมจุลินทรีย์)
– เกิดจากการอุดตันของท่อน้ำทิ้ง หรือปลายท่อน้ำทิ้งมีน้ำเสียทำให้กลิ่นย้อนเข้ามาในห้องน้ำ (ทำความสะอาดท่อ)
– เกิดจากกลิ่นในท่ออ้างล้างหน้า ที่มีเศษสิ่งสกปรกอุดตัน จึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ(ทำความสะอาดท่อด้วยชุดทะลวงท่อ หรือ เบกกิ้งโซดา)
– เกิดจากมีสัตว์ตายในท่อน้ำ ซึ่งนอกจากทำให้มีกลิ่นเหม็นแล้ว ยังมีส่วนทำให้เกิดเชื้อโรคสะสมอีกด้วย (กำจัดซากสัตว์)
– เกิดจากการที่มีอุจจาระอุดตัน จึงทำให้เกิดก๊าซมีเทน ส่งผลให้มีกลิ่นย้อนออกมาทางชักโครก (ใช้เบกกิ้งโซดา)
– เกิดจากน้ำท่วมที่ส่งผลให้ถังบำบัดได้รับความเสียหาย (แก้ไขถังบำบัด)
– เกิดจากกลิ่นเหม็นบริเวณฐานโถส้วม ที่มีสาเหตุมาจากยาแนวรอบฐานไม่ดี หรือหลุดล่อนออกมา (ซ่อมยาแนวฐานชักโครก)
– เกิดจากท่อทางเดินอุจจาระมีความลาดเอียงไม่ได้มาตรฐาน จึงทำให้อุจจาระค้างอยู่ในท่อ และเกิดการหมักหมม รวมถึงมีกลิ่นเหม็นที่ไม่น่าพิศมัย (ต้องให้ช่างแก้ไข)
– เกิดจากการติดตั้งท่อน้ำผิดวิธี โดยได้ทำการต่อรวมกับท่อส้วม จึงทำให้กลิ่นย้อนขึ้นมาที่บริเวณท่อน้ำทิ้ง (ต้องให้ช่างแก้ไข)
– เกิดจากการติดตั้งท่อส้วมที่ไม่ได้คุณภาพ จึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็นที่ไม่พึงประสงค์ (ต้องให้ช่างแก้ไข)